หูด คืออะไร รักษา อย่างไรดี

    หูด คืออะไร

หูด เป็นโรคผิวหนัง ชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส “ปาโปวา” (papova virus)
ลักษณะหูดนี้ จะเป็น เม็ดตุ่ม นูนแข็ง มีราก อยู่ข้างใต้หูด มีขนาดแตกต่างกันไป แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

  1. หูดธรรมดา (common wart)

ลักษณะของหูดชนิดนี้ จะเป็นตุ่มเม็ดนูนแข็ง ผิวค่อนข้างขรุขระ อาจมีเม็ดเดียว หรือ หลายเม็ดก็ได้
ตำแหน่งที่พบ ที่พบบ่อย คือ บริเวณแขน ขา มือ และเท้า (ภาพจาก wikipedia)

2.  หูดชนิดแบน (plane wart) ลักษณะ ของหูดชนิดนี้ จะเป็นเม็ดเล็กแข็ง แต่ผิวเรียบ ซึ่งต่างจาก หูดธรรมดา เพราะว่า หูดธรรมดา จะมีผิวขรุขระกว่า
ตำแหน่งที่พบ ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ หลังมือ หน้าแข็ง หน้าผาก (ภาพจาก Dermnetz)

   3.  หูดฝ่าเท้า (plantar wart)
ลักษณะเป็นไต แผ่นหนาแข็ง เป็นปื้นใหญ่ ขนาดใหญ่กว่า หูดธรรมดา
ตำแหน่งที่พบ พบที่บริเวณฝ่าเท้า ข้างใต้ฝ่าเท้า (ภาพจาก skincarestop)

4. หูดที่อวัยวะเพศ
ชนิดที่จะเป็นบริเวณที่อวัยวะเพศ ซึ่งพวกนี้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนใหญ่มักมีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ เป็นบริเวณอวัยวะเพศและรูทวาร

ใครกันบ้างที่เป็นหูด ?
หูดพบได้ทุกเพศทุกวัย ทั้งในเด็ก และ ผู้ใหญ่ นอกจากนี้ หูด มักจะพบในผู้ที่มี ความต้านทานต่ำหรือ ไม่ค่อยสบาย มีการติดเชื้อโรคต่างๆ  ได้ง่าย

หูด มีอาการอย่างไร ?
หูด ทำให้มีอาการเจ็บได้ แต่ไม่คัน ส่วนใหญ่ ที่เจ็บมาก คือ หูดที่ฝ่าเท้า เพราะ เมื่อ คุณเดินไป เดินมา จะไปกดทับหูด โดยตรง ทำให้เจ็บได้

หูดติดต่อกันอย่างไร
วิธีการติดต่อ ของหูด ทั้ง 3 ชนิด คือ ติดต่อทางการสัมผัสเชื้อโดยตรง (direct contact) 

เช่น ถ้า คุณผู้อ่านมีรอยถลอก หรือมีแผล ตามมือ เท้า แขน แล้ว อยู่ดี ๆ ก็ไปสัมผัสกับ คนที่เป็นหูดนี้ โดยที่ตัวคุณ ไปสัมผัส เข้ากับ เจ้าตุ่ม เม็ดหูดนี้ โดยตรงเลย เชื้อไวรัสหูดนี้ ก็ จะสามารถ แพร่กระจาย มาที่ตัวคุณผู้อ่านได้

เพราะฉะนั้น ส่วนใหญ่แล้ว คนที่เป็น หูด ระยะแรก จะมีเม็ดเดียว

ต่อมา เกิดรำคาญ หงุดหงิดใจ ก็เลย ลองแกะ ดูเล่น ๆ หรือ พยายาม ใช้กรรไกรตัดเล็บตัดออก แกะไปแกะมา จะทำให้เกิด การแพร่กระจาย ของเชื้อไวรัส หูดนี้ได้

ดังนั้นช่วงแรก อาจเป็นหูด 1 เม็ด ต่อมาไม่นาน กลายเป็นหูดถึง 10-20 เม็ดเชียวนะคะ อย่าทำเป็นเล่นไป

วิธี การรักษา หูด

  1. ทายา ถ้าเป็น หูด เม็ดเล็ก ๆ หรือ เป็นไม่มากนัก หรือหูดในเด็ก ๆ ใช้ยาทา การทายานี้ ได้ผลพอใช้ อาจต้องใช้ระยะเวลานาน ขึ้นอยู่กับขนาดของหูด
  2. พ่นไนโตรเจนเหลว  เป็นการใช้ไอเย็นทำลายเชื้อหูด วิธีนี้ได้ผลดี ดูแลแผลง่าย สามารถพ่นซ้ำได้ทุก 2-4 สัปดาห์
  3. จี้ด้วยเลเซอร์ ใช้แสงเลเซอร์จี้ที่ตัวหูด ได้ผลดีเช่นกัน แต่หลังทำจะเป็นแผลเป็นสะเก็ดอยู่ประมาณ 1 อาทิตย์
  4. ผ่าตัดออก คือการผ่าตัดเอาตัวก้อนหูดนี้ออกไปเลย แต่ไม่ค่อยนิยมทำกัน

ติดต่อ โพรเดอร์มาคลินิก

Share